UFABETWINS ลุ้นกันปีต่อปี : ทำไมสโมสรเจลีกจึงผลงานไม่คงเส้นคงวาและแทบไม่ผูกขาดแชมป์ ?

UFABETWINS “ทำไมเจลีกจึงมีการแข่งขันที่เข้มข้นและคาดเดาไม่ได้เลยในแต่ละสัปดาห์”

ลุ้นกันปีต่อปี : ทำไมสโมสรเจลีกจึงผลงานไม่คงเส้นคงวาและแทบไม่ผูกขาดแชมป์ ?

นับตั้งแต่นักเตะไทยหลายคนไปค้าแข้งใน เจลีก ทำให้คนไทยหลายคนหันมาติดตามฟุตบอลญี่ปุ่นกันมากขึ้น และสิ่งที่เราได้เห็นมาตลอดระยะหลังคือ “ทำไมเจลีกจึงมีการแข่งขันที่เข้มข้นและคาดเดาไม่ได้เลยในแต่ละสัปดาห์”

ว่ากันว่านี่คือลีกที่แข่งกันแบบปีต่อปี ลุ้นกันนัดต่อนัด ไม่มีการผูกขาดและก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของลีกอย่างชัดเจน … ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

เริ่มอย่างมีระดับ ค่อย ๆ นับทีละก้าว

การจะเริ่มทำสิ่งใดให้มีผลตอบแทนออกมาสดใสงดงามนั้นจำเป็นอย่างมากที่จะต้องค่อย ๆ วางแผน และคิดค้นแต่ละขั้นตอนออกมาให้ดีและตอบโจทย์กับสิ่งที่ตัวเองมีที่สุด

วงการฟุตบอลญี่ปุ่น มีหลายช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับความยากลำบาก เพราะฟุตบอลไม่ใช่กีฬายอดนิยมอันดับหนึ่งเหมือนกับในหลาย ๆ ประเทศ คนญี่ปุ่นนิยมกีฬาเบสบอลเป็นหลัก

 


Photo : www.jfa.jp

ช่วงที่ญี่ปุ่นเริ่มเล่นฟุตบอลกันในปี 1920 นั้นได้รับความนิยมน้อยมาก มันกลายเป็นกีฬาเฉพาะกลุ่มที่มีคนเล่นอยู่เพียงหยิบมือ จนกระทั่งการพัฒนาที่แท้จริงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ญี่ปุ่น กำลังจะได้เป็นเจ้าภาพในการแข่งขันโอลิมปิก 1964

 

ครั้งนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากสมาคมฟุตบอลญี่ปุ่น (JFA) บินข้ามน้ำข้ามทะเลไปถึงประเทศเยอรมนี เพื่อศึกษาและเก็บข้อมูลในการสร้างระบบพัฒนานักฟุตบอลที่ญี่ปุ่น และที่สำคัญพวกเขายังได้เชิญ เด็ตมาร์ คราเมอร์ โค้ชชาวเยอรมัน เข้ามาเป็นที่ปรึกษาฝ่ายเทคนิคของสมาคมอีกด้วย

คราเมอร์ ไม่เพียงเข้ามาช่วยฝึกสอนนักเตะเท่านั้น เขายังมีส่วนสำคัญในการวางรากฐานในการพัฒนาวงการฟุตบอลญี่ปุ่น เขาเสนอให้ JFA ก่อตั้งระบบอบรมโค้ชและพัฒนาคุณภาพผู้ตัดสินให้ดีขึ้น รวมไปถึงเป็นคนริเริ่มให้คนญี่ปุ่นเปลี่ยนจากการเล่นสนามดินมาเป็นสนามหญ้า เนื่องจากก่อนหน้านั้น สภาพแวดล้อมในการเล่นฟุตบอลของนักฟุตบอลญี่ปุ่นอยู่ในขั้นย่ำแย่ ถึงขนาดไม่มีแม้แต่สนามหญ้าให้ทีมชาติได้ฝึกซ้อม

แต่ที่สำคัญที่สุดคือ คราเมอร์ คือคนที่เสนอให้ JFA ก่อตั้งลีกอาชีพด้วย สิ่งที่ตามมาคือผลงานในระดับชาติดีขึ้น ญี่ปุ่น กลายเป็นชาติแรกในเอเชียที่ได้เหรียญรางวัลในโอลิมปิก(เหรียญทองแดง) ในปี 1968 แต่หลังจากหมดยุค “ฟุตบอลบูม” เกมระดับลีกของประเทศก็มีปัญหาขึ้นมา

 


Photo : twitter.com/FootballArchive

เนื่องจากหลายทีมเป็นทีมที่สร้างโดยบริษัทห้างร้าน ภายใต้ชื่อ เจแปน ซอคเกอร์ ลีก (Japan Soccer League) หรือ JSL

ไม่ได้เป็นลีกฟุตบอลอาชีพ นักเตะส่วนใหญ่ยังคงเป็นพนักงานขององค์กรต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าของทีม ดังนั้นการพัฒนาที่แท้จริงและก้าวกระโดดจึงไม่ยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการปรับโครงสร้างเพื่อให้ลีกฟุตบอลของญี่ปุ่นกลายเป็นลีกอาชีพขึ้นมาให้ได้

 

ทุกอย่างเริ่มขึ้นในปี 1992 ด้วยการสร้าง เจลีก ขึ้นมา โดยทุกทีมที่เคยบริหารภายใต้ชื่อองค์กรจะต้องปรับตัว พวกเขาต้องแยกออกมาเป็นอิสระจากบริษัทต่าง ๆ และใช้ระบบท้องถิ่นเข้ามาแทนที่ โดยให้ความสำคัญกับชุมชน สร้างความผูกพัน และสร้างฐานแฟนบอลแบบที่รักกันด้วยใจตั้งแต่จุดเริ่มต้น

นอกจากนี้ยังมีกฎยิบย่อยอีกเยอะมากเพื่อให้ทุกทีมมีความเป็นมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการบังคับให้สนามแข่งของแต่ละทีมต้องจุคนดูได้ไม่น้อยกว่า 15,000 คน, มีทีมเยาวชนตั้งแต่รุ่นอายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นของตัวเอง, ผู้ที่ทำงานในตำแหน่งโค้ชจะต้องผ่านการอบรมและมีใบอนุญาตที่ถูกต้อง นี่คือส่วนหนึ่งเท่านั้นในการสร้างฟุตบอล เจลีก ให้ยั่งยืนโดยแผนงานนี้มีการวางเป้าหมายไว้นานถึง 100 ปีเลยทีเดียว

และเป้าที่วางไว้ ไม่ใช่แค่การทำให้ลีกแข็งแกร่ง มีการแข่งขันสูงขึ้นและมีคุณภาพเท่านั้น เพราะปลายทางคือพวกเขาจะสร้างสุดยอดนักเตะท้องถิ่น เพื่อกลายเป็นขุมกำลังที่แข็งแกร่งสำหรับทีมชาติ และมีเป้าหมายคือการเป็นแชมป์โลก

ทว่าการวางแผนที่ดีมีคุณภาพ หากดำเนินงานไปตามขั้นตอนเราก็จะได้เห็นผลกระทบในแง่บวกแบบจับต้องได้ และตอนนี้ เจลีก กำลังแสดงให้โลกเห็นอยู่ ณ เวลานี้ว่า นี่คือลีกฟุตบอลที่ยากต่อการคาดเดาที่สุด เพราะทุก ๆ ทีมต่างลงเล่นด้วยคุณภาพที่ใกล้เคียงกันมาก มีการแข่งขันแบบพลิกล็อก ทีมบ๊วยชนะทีมหัวตารางให้เห็นแทบทุกสัปดาห์ … ทำไมถึงเป็นแบบนั้น ? และนี่คือเรื่องราวระหว่างทางก่อนที่ ญี่ปุ่น จะหวังไปถึงเเชมป์โลกในปี 2050 ตามแผนงานที่พวกเขาได้วางไว้

เพราะปลายทางสำคัญที่สุด

อย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ในข้างต้น แผนพัฒนา 100 ปี เกิดขึ้นก็เพื่อการสร้างลีกให้เเข็งแกร่งไปตามสเต็ปทีละขั้น ๆ และหากทำสำเร็จ ญี่ปุ่น ที่อาจจะเริ่มสร้างฟุตบอลช้ากว่าชาติในยุโรปก็จะสามารถสร้างวัฒนธรรมฟุตบอลขึ้นมาได้ เฉกเช่นฟุตบอลอังกฤษ ที่ฟุตบอลกลายเป็นเหมือนลมหายใจของคนที่นั่น และเป็นอุตสาหรกรรมที่ทำเงินได้มากมายและยั่งยืนอีกด้วย

 

การสร้างทีมขึ้นในเวลาไล่ ๆ กัน และเติบโตมากับระบบและแผนงานเดียวกัน ทำให้คุณภาพของสโมสรในเจลีกไม่ได้หนีกันมากมายนัก

และหากคุณอยากจะเห็นภาพชัด ๆ ว่าทำไมฟุตบอลเจลีกจึงเป็นลีกที่คาดเดายากทั้งผลการแข่งขัน และอันดับในตาราง ก็ขอให้เทียบกับฟุตบอลลีกของไทย คุณจะพบคำตอบได้ชัดเจน

ในขณะที่ฟุตบอลไทยนั้นความแข็งแกร่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับเจ้าของสโมสรว่ากล้าทุ่มมากแค่ไหน รายได้ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากเชิงพาณิชย์แต่เกิดจากการลงทุนของผู้บริหาร เราจึงได้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนมาก ทั้งการเสริมทัพและขุมกำลังนักเตะแต่ละทีม ทีมใหญ่ ๆ มีการตลาดที่ฮือฮาเพราะทุ่มเงินมหาศาลอยู่ตลอด ขณะที่ทีมเล็ก ๆ ก็มักจะมีข่าวคราวเรื่องค่าจ้างนักเตะ หรือเรื่องวงในแนว ๆ นี้ออกมาให้เห็นบ่อย ๆ จนมันทำให้เกิดการผูกขาดและมีทีมเก่งอยู่แค่ไม่กี่ทีม ขณะที่ทีมที่เล็กกว่าที่ผู้บริหารทุ่มเงินน้อยกว่าก็แทบจะไม่มีทางลืมตาอ้าปากได้เลย

ขณะที่ เจลีก นั้นอยู่กันอย่างเป็นระบบมาก ทุกสโมสรต่างมีรายได้ส่วนใหญ่มากกว่าครึ่งมาจากเหล่าสปอนเซอร์ของทีม และค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดก็จะได้รับทีมละ 200 ล้านเยน หรือราว ๆ 61 ล้านบาท ซึ่งนั่นทำให้แต่ละทีมจะมีตัวเลขรายรับที่แน่นอน และพวกเขาจะใช้จ่ายกันตามตัวเลขที่เหมาะสม

 

“สโมสรในญี่ปุ่นในระดับเจลีกจะมีงบประมาณอยู่ที่ 30-50 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เงินที่พวกเขาหาได้ส่วนใหญ่มาจากการขายตั๋วเข้าชมและเหล่าสปอนเซอร์ของทีม ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้สนับสนุนระดับท้องถิ่น เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพรายได้แต่ละทีมชัดคือ พวกเขามีงบประมาณระดับสูสีกับทีมในบุนเดสลีกา 2 เยอรมัน”

ส่วนรายได้จากการขายนักเตะนั้น สโมสรในเจลีกมีรายได้ในส่วนนี้ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับสโมสรอื่น ๆ ในโลก เนื่องจากพวกเขามักจะส่งออกนักเตะหรือขายนักเตะในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป นั่นจึงทำให้เราได้เห็นนักฟุตบอลฝีเท้าดีในเจลีกไปค้าแข้งกับทีมในยุโรปอยู่บ่อยครั้ง

“เจลีกมีกฎควบคุมการเงินของตัวเอง ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบได้กับกฎ FFP ของยูฟ่า ดังนั้นทุกสโมสรจะไม่สามารถจ่ายเงินเกินรายได้ที่ได้รับ วิธีที่สโมสรจะหาเงินมาใช้พัฒนาทีมได้มากขึ้นสังเกตได้ง่าย ๆ เพราะหลาย ๆ สโมสรมักจะมีแนวคิดขยายสนามเหย้าเพื่อเพิ่มรายได้ของพวกเขานั่นเอง” Pedro Iriondo บรรณาธิการของเว็บไซต์ฟุตบอล futbolfinanzas.com ที่ทำงานร่วมกับ jsoccer.com ของญี่ปุ่น เล่าถึงสิ่งที่เขารู้หลังติดตามลีกญี่ปุ่นมาตั้งแต่ยุค 90s

คลิกเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านเพิ่มเติม >>> บ้านผลบอล