UFABETWINS โอลิมปิก ประเทศเจ้าภาพย่อมกลายเป็นประเด็นและจุดสนใจ

UFABETWINS 5 โอลิมปิก ที่เศรษฐกิจชาติเจ้าภาพพังพินาศ จนน่าศึกษาและเป็นบทเรียน

เมื่อพูดถึงมหกรรมกีฬาโอลิมปิก ประเทศเจ้าภาพย่อมกลายเป็นประเด็นและจุดสนใจ ไปตลอดทั้งการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นความประทับใจในพิธีการ หรือสภาพแวดล้อมโดยรวมของชาตินั้น ๆ ที่เปิดมาต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วทุกมุมโลก

แต่ในเวลาเดียวกัน การรับงานที่ยิ่งใหญ่ขนาดนี้ ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่ใหญ่ยิ่งไม่แพ้กัน หากบริหารงานได้ดี ก็เป็นประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก แต่ถ้าจัดการได้เละเทะ ก็คงไม่อาจหลีกเลี่ยงแผลเป็นขนาดใหญ่ ที่ย้ำเตือนถึงความพังพินาศดังกล่าวไว้ตราบนานเท่านาน

วันนี้มาไล่ดู 5 ครั้งในประวัติศาสตร์ ที่ชาติเจ้าภาพเจ๊งไม่เป็นท่า จนน่านำมาเป็นบทเรียนว่า ทำไมมันถึงเละได้ขนาดนี้กัน

ริโอ 2016

แม้จะเป็นเจ้าภาพของสองมหกรรมกีฬาระดับโลก อย่าง ฟุตบอลโลก 2014 กับ โอลิมปิกฤดูร้อน 2016 ในเวลาไล่เลี่ยกัน แต่ดูเหมือนบทเรียนที่มีนั้น ก็ไม่ได้ช่วยให้นครริโอ เดอ จาเนโร มีความพร้อมขึ้นมาสักเท่าไหร่เลย

ประเด็นสำคัญที่สุด คือการเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขัน ทั้งการสร้างสนามฟุตบอลไว้ในเมืองมาเนาส์ ที่ต้องขนส่งอุปกรณ์ก่อสร้างผ่านแม่น้ำแอมะซอน และแทบไม่ได้ใช้งานอีกเลยหลังจบการแข่งขัน จนเกิดเป็นภาพของเก้าอี้ที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา

 

5 โอลิมปิก ที่เศรษฐกิจชาติเจ้าภาพพังพินาศ จนน่าศึกษาและเป็นบทเรียน

เช่นกันกับอีกหลากหลายสนามการแข่งขัน ที่ถูกทิ้งร้างไปตามกาลเวลา รวมทั้งหมู่บ้านนักกีฬา ที่มีผู้เข้าพักอาศัยยังไม่ถึง 1 ใน 10 เลยด้วยซ้ำ

สภาพของเมืองเองก็ไม่ได้ดีขึ้นนัก ทั้งจากการพยายามลบภาพความจนของประชาชน ด้วยการตั้งป้ายบังบนทางด่วน รวมถึงไล่ที่ผู้คนให้ออกไปไกลจากบริเวณสถานที่จัดการแข่งขัน ไปจนถึงความสะอาดของแม่น้ำลำคลอง ที่ยังคงสกปรกและเต็มไปด้วยขยะมากมาย ราวกับว่ามันไม่เคยได้รับการทำความสะอาดมาก่อนเลย

แม้โอลิมปิกครั้งนี้จะสร้างงานให้กับผู้คนในประเทศได้ แต่ก็ทำให้เมืองริโอนั้นมีหนี้มูลค่าสูงกว่า 690,000 ล้านบาท ที่ก็ยังคงมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศมาจนถึงปัจจุบัน เช่นกันกับอัตราการปล้นทรัพย์และฆาตกรรม ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังโอลิมปิกจบลง

 

 

 

เอเธนส์ 2004

เมื่อโอลิมปิกกลับสู่บ้านเกิดที่แท้จริงอีกครั้ง มันก็ควรเป็นภาพที่คลาสสิก และน่าจดจำในสายตาของผู้คนทั้งโลก ทั้งกับมหกรรมกีฬาครั้งสำคัญนี้ และกับตัวของประเทศกรีซเอง

ทว่าในความเป็นจริงนั้น นี่คือความผิดพลาดในเชิงเศรษฐกิจที่ร้ายแรงมาก จนอาจต้องรอการแก้ไขไปอีกหลายทศวรรษเลยด้วยซ้ำ ก่อนที่มหกรรมกีฬาระดับโลกนี้ จะได้เดินทางกลับสู่กรุงเอเธนส์อีกครั้งหนึ่ง

นั่นเป็นเพราะกรีซคาดหวังและทุ่มทุนสร้างกับโอลิมปิกครั้งนี้อย่างมหาศาล ทั้งสนามกีฬา สนามบิน ถนนหนทาง และรถไฟฟ้าที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ภายใต้งบประมาณกว่า 350,000 ล้านบาท กับการเร่งทำงานวันละ 3 กะ เพื่อให้ทุกอย่างเสร็จสิ้นทันก่อนพิธีเปิดการแข่งขัน

แต่เมื่อไฟบนกระถางคบเพลิงได้ดับลง เช่นเดียวกับไฟแห่งความหวังจากสนามแข่งขันเหล่านี้ ที่ส่วนมากก็ยังคงถูกทิ้งร้างให้เสื่อมถอยไปตามกาลเวลา พร้อมกับภาวะวิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซในปี 2010 ที่มีการอ้างถึงโอลิมปิกที่เอเธนส์ ว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤติดังกล่าวขึ้น ซึ่งในตอนนี้ก็ยังคงไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่

สิ่งเดียวที่แน่ชัด คือการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในครั้งนั้นมีความเสี่ยงที่สูงมาก โดยเฉพาะกับชาติขนาดเล็กแบบกรีซ ที่ได้รับบทเรียนราคาแพงไปเป็นที่เรียบร้อย

คลิกเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านเพิ่มเติม >>> บ้านผลบอล